วิทยาการคำนวณ (Computing Science)


          ปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือ ช่วยในการทำงาน การศึกษา การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ผ่านมาอาจไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่ต้องมีพื้นฐานความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงหรือพัฒนานวัตกรรม และใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการสร้างองค์ความรู้หรือสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์


8808 1


 

ภาพที่ 1 ศูนย์อำนวยการบริษัทเอกชนทางด้านธุรกิจการขนส่งทางอวกาศประเทศสหรัฐอเมริกา (Space Exploration Technologies Corporation)
ที่มา : https://pixabay.com,SpaceX-Imagery

 

          สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 จึงได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปสู่หลักสูตรวิทยาการคำนวณ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีทักษะการคิดเชิงคำนวณ และเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์


วิทยาการคำนวณ (Computing science) คืออะไร ?

          วิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้เด็กสามารถคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีความพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy) ซึ่งการเรียนวิชาการคำนวณ จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์เท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นกระบวนการความคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ โดยเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ไขปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ มีเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนกล่าวคือเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีทักษะในการค้นหาข้อมูลหรือสารสนเทศ ประเมิน จัดการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหา เสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบมีจริยธรรม

          ซึ่งในระดับชั้นชั้นมัธยมตอนต้นจะเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการออกแบบและการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อเป็นการฝึกแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน ส่วนในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย จะเป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อนำไปใช้ในการบูรณาการกับโครงานวิชาอื่น ๆ อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด


 

8808 2
ภาพที่ 2 นักโปรแกรมเมอร์พัฒนาโปรแกรม
ที่มา : https://pixabay.com,JuralMin

 

ขอบเขตของวิชาวิทยาการคำนวณมีอะไรบ้าง?

การกำหนดขอบเขตการเรียนการสอนของวิชาวิทยาการคำนวณมี 3 องค์ความรู้ ดังนี้

  1. การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) เป็นวิธีการคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ สามารถใช้จินตนาการมองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและมีลำดับวิธีคิดได้ โดยวิธีคิดแบบวิทยาการคำนวณนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโปรแกรม เพราะภาษาโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จุดประสงค์ที่สำคัญกว่าคือการสอนให้เด็กคิดและเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เป็น จนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบนั่นเอง
  2. พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (digital technology) เป็นการสอนให้รู้จักเทคนิควิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในยุคไทยแลนด์ 4.0 จะเน้นในด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคม ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน และนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม
  3. พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (media and information literacy) เป็นทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่างๆ เพื่อให้เด็กใช้ช่องทางนี้ได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัยมากที่สุด

8808 3

 

ภาพที่ 3 นักพัฒนาโปรแกรม
ที่มา : https://pixabay.com,kreatikar

 

สาระการเรียนรู้เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มีอะไรบ้าง?

ในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณนั้นผู้เรียนจะต้องมีองค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้

สาระการเรียนรู้เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีทักษะการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดสาระสำคัญดังนี้

วิทยาการคอมพิวเตอร์ การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ การใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การบูรณาการกับวิชาอื่น การเขียนโปรแกรมการคาดการณ์ผลลัพธ์ การตรวจหาข้อผิดพลาด การพัฒนาแอปพลิเคชันหรือพัฒนาโครงงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การประเมินผลการนำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง การค้นหาข้อมูลและแสวงหาความรู้บนอินเทอร์เน็ต การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การเลือกใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ต ข้อตกลงและข้อกำหนดในการใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร

การรู้ดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย การจัดการอัตลักษณ์ การรู้เท่าทันสื่อ กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การใช้ลิขสิทธ์ิของผู้อื่นโดยชอบธรรมนวัตกรรมและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อการดำเนินชีวิต อาชีพสังคม และวัฒนธรรม


8808 4

 

ภาพที่ 4 การพัฒนาโปรแกรมเว็บไซต์
ที่มา : https://pixabay.com, lakexyde

 

          จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า วิทยาการคำนวณเป็นรายวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนให้ใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณสามารถคดิ วิเคราะห์ แก้ปัญหา อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ สามารถค้นหาข้อมูล หรือสารสนเทศ ประเมิน จัดการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหาประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงและทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม

แหล่งที่มา

แคมป์ปัส. วิทยาการคำนวณ วิชาใหม่ของนักเรียนไทย. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561 จากhttps://campus.campus-star.com/education/62881.html

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ. วิทยาการคำนวณ คืออะไร?. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561. จากhttps://school.dek-d.com/blog/kidcoding/computational-science/

ยุทธคม ภมรสุพรวิชิต และ ปรัชญา เปรมมะ. (2561) เอกสารแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์

บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. วิทยาการคำนวณ (Computing science) คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2561 . จากhttp://www.thaiall.com/computingscience/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.


แหล่งที่มา www.scimath.org


Creator : พรณรงค์ ทรัพย์คง

โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1


    



C SHOP ร้านผลิตภัณฑ์โรงเรียน สพป.จบ.1
เค้กกล้วยหอม

C Shop Product

ราคา 10 บาท

สเปรย์ตะไคร้หอมกันยุง

C Shop Product

ราคา 25 บาท


วิดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.4 ...
โรงเรียนวัดนาซา
วิทยาการคำนวณ (ป.4)
เปิดดู 126 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิทยาการคำนวณชั้นป.1...
โรงเรียนบ้านวังปลา
วิทยาการคำนวณ (ป.1)
เปิดดู 13 ครั้ง
วิดิโอการสอน Coding...
โรงเรียนวัดไผ่ล้อม
วิทยาการคำนวณ (ม.3)
เปิดดู 19 ครั้ง
การจัดการเรียนรู้แผนการสอน Active Learning เดิน...
โรงเรียนวัดหนองคัน
วิทยาการคำนวณ (ป.3)
เปิดดู 21 ครั้ง
ม.3 วิทยการคำนวณ 02 การวางแผนการพัฒนา...
บ้านวังไม้แดง
วิทยาการคำนวณ (ม.3)
เปิดดู 155 ครั้ง
วิดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.4...
โรงเรียนบ้านแก้ว
วิทยาการคำนวณ (ป.4)
เปิดดู 14 ครั้ง
วิทยาการคำนวณ เรื่อง การแก้ปัญหา โดยใช้เหตุผลเช...
โรงเรียนวัดพลับพลา
วิทยาการคำนวณ (ป.6)
เปิดดู 26 ครั้ง
วิดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.3...
โรงเรียนวัดเนินยาง
วิทยาการคำนวณ (ป.3)
เปิดดู 150 ครั้ง
EP3 : เรื่อง การใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีอย่างเหมา...
สฤษดิเดช
วิทยาการคำนวณ (ป.1)
เปิดดู 173 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การแก้ปัญห...
โรงเรียนบ้านท่าแฉลบ
วิทยาการคำนวณ (ป.2)
เปิดดู 12 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.3...
โรงเรียนวัดหนองแหวน
วิทยาการคำนวณ (ป.3)
เปิดดู 114 ครั้ง
สอนวิทยาการคำนวณอนุบาล2-3โรงเรียนบ้านคลองครก...
โรงเรียนบ้านคลองครก
วิทยาการคำนวณ (อ.3)
เปิดดู 40 ครั้ง
การจัดการเรียนรู้ coding กิจกรรม เดินเล่นในสวนผ...
โรงเรียนวัดหนองคัน
วิทยาการคำนวณ (ป.3)
เปิดดู 31 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.2...
โรงเรียนวัดท่าแคลง
วิทยาการคำนวณ (ป.2)
เปิดดู 117 ครั้ง
วิดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.6...
โรงเรียนบ้านคลองครก
วิทยาการคำนวณ (ป.6)
เปิดดู 121 ครั้ง
วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการแก้ปัญหา ชั้นประถมศึ...
โรงเรียนวัดเนินโพธิ์
วิทยาการคำนวณ (ป.5)
เปิดดู 15 ครั้ง
แนวคิดเชิงคำนวณ...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
วิทยาการคำนวณ (ม.2)
เปิดดู 185 ครั้ง
วิทยการคำนวณ ชั้น ป.4...
โรงเรียนบ้านช่องกะพัด
วิทยาการคำนวณ (ป.4)
เปิดดู 121 ครั้ง
วิดิโอการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) ไฟฉายไขปริศน...
โรงเรียนวัดเกาะตะเคียน
วิทยาการคำนวณ (ป.5)
เปิดดู 13 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2...
โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
วิทยาการคำนวณ (ป.2)
เปิดดู 8 ครั้ง
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำน...
โรงเรียนบ้านโป่งวัว
วิทยาการคำนวณ (ป.2)
เปิดดู 2 ครั้ง
วิทยาการคำนวณ เรื่องอัลกอริทึม ป.3 โรงเรียนวัดช...
โรงเรียนวัดช้างข้าม
วิทยาการคำนวณ (ป.3)
เปิดดู 175 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ เรื่องแนวคิดในการทำงา...
โรงเรียนวัดช้างข้าม
วิทยาการคำนวณ (ป.6)
เปิดดู 11 ครั้ง
วิดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.6...
โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี
วิทยาการคำนวณ (ป.6)
เปิดดู 128 ครั้ง
การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ ป.6...
โรงเรียนวัดไผ่ล้อม
วิทยาการคำนวณ (ป.6)
เปิดดู 148 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.1...
โรงเรียนวัดโขมง
วิทยาการคำนวณ (ป.1)
เปิดดู 67 ครั้ง
ม.1 วิทยการคำนวณ 01 แนวคิดเชิงนามธรรม...
บ้านวังไม้แดง
วิทยาการคำนวณ (ม.1)
เปิดดู 228 ครั้ง
ม.3 วิทยการคำนวณ 04 การใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่า...
บ้านวังไม้แดง
วิทยาการคำนวณ (ม.3)
เปิดดู 154 ครั้ง
ความเหมือนและความแตกต่าง_วิทยาการคำนวณ_ป.1...
วัดหนองสีงา
วิทยาการคำนวณ (ป.1)
เปิดดู 67 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.6...
โรงเรียนบ้านประแกต
วิทยาการคำนวณ (ป.6)
เปิดดู 111 ครั้ง
วิดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.4...
โรงเรียนวัดเกาะโตนด
วิทยาการคำนวณ (ป.4)
เปิดดู 8 ครั้ง
Coding เรื่อง รู้เท่าทันสื่อ ป.3...
โรงเรียนวัดเขาวงกต
วิทยาการคำนวณ (ป.3)
เปิดดู 134 ครั้ง
การแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน...
โรงเรียนบ้านประแกต
วิทยาการคำนวณ (ป.3)
เปิดดู 9 ครั้ง
วิดิโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.4...
โรงเรียนบ้านเขาแก้ววิทยา
วิทยาการคำนวณ (ป.4)
เปิดดู 114 ครั้ง
ความเหมือนและความแตกต่าง...
วัดสิงห์
วิทยาการคำนวณ (ป.1)
เปิดดู 33 ครั้ง
วิดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.3...
โรงเรียนวัดหมูดุด
วิทยาการคำนวณ (ป.3)
เปิดดู 110 ครั้ง
การจัดการการเรียนการสอนเชิงรุก...
โรงเรียนวัดเขาน้อย
วิทยาการคำนวณ (ป.1)
เปิดดู 3 ครั้ง
แนวคิดเชิงคำนวณกับการแก้ปัญหา...
โรงเรียนวัดหนองบัว
วิทยาการคำนวณ (ม.2)
เปิดดู 17 ครั้ง
วิดีทัศน์การสอนวิชาวิทยาการคำนวณ (Coding) ชั้นป...
โรงเรียนบ้านเจ้าหลาว
วิทยาการคำนวณ (ป.4)
เปิดดู 5 ครั้ง
วิดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.6...
โรงเรียนบ้านคลองกะพง
วิทยาการคำนวณ (ป.6)
เปิดดู 124 ครั้ง
การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บูรณาการเชิงรุก ...
โรงเรียนบ้านเขามะปริง
วิทยาการคำนวณ (ป.4)
เปิดดู 14 ครั้ง
วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่องการแสดงขั้...
โรงเรียนบ้านโคกวัด
วิทยาการคำนวณ (ป.2)
เปิดดู 14 ครั้ง
การจัดการเรียนการสอน วิทยาการคำนวณ เรื่อง การแก...
โรงเรียนวัดวังหิน
วิทยาการคำนวณ (ป.5)
เปิดดู 12 ครั้ง
วิทยาการคำนวณ ป.4...
โรงเรียนบ้านเขามะปริง
วิทยาการคำนวณ (ป.4)
เปิดดู 73 ครั้ง
วิดิโอการสอนวิทยาการคำนวณ ป.2...
โรงเรียนวัดเขาน้อย
วิทยาการคำนวณ (ป.2)
เปิดดู 121 ครั้ง
อัลกอริทึมกับการแก้ปัญหา ป.3...
วัดแก่งหางแมว
วิทยาการคำนวณ (ป.3)
เปิดดู 191 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ม.2 โรงเรียนวัดขุนซ่อ...
โรงเรียนวัดขุนซ่อง
วิทยาการคำนวณ (ม.2)
เปิดดู 132 ครั้ง
วิทยาการคำนวณ (Computing Science)...
โรงเรียนสพป.จันทบุรี เขต 1
วิทยาการคำนวณ (ทุกระดับชั้น)
เปิดดู 5 ครั้ง
วีดีโอการสอนวิทยาการคำนวณ ห้องเสริมวิชาการ ป.6...
โรงเรียนวัดจันทนาราม
วิทยาการคำนวณ (ป.6)
เปิดดู 123 ครั้ง
วิดีโอการสอน การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ ชั้นประถมศ...
โรงเรียนวัดแก่งหางแมว
วิทยาการคำนวณ (ป.2)
เปิดดู 67 ครั้ง

CHAN1 PLAY Thai Education Platform