Search

รายการสั่งซื้อสินค้า

Saved articles

You have not yet added any article to your bookmarks!

Browse articles

แนวคิดของโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้


การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญต่อผู้เรียน ในการเลือกเรียนสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งเนื้อหา วิธีการ โดยมีครูเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จในการเรียน ทั้งในแง่ของความรู้ด้านวิชาการ และความรู้ที่ใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำงานในอนาคตเป็นผู้ที่มีความสมดุลทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย ปัญญา อารมณ์ และสังคม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนเรื่องการจัดทำโครงงานนั้น นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านการฝึกให้ผู้เรียนมีความรู้ความชำนาญและมีความมั่นใจในการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองแล้วยังให้คุณค่าอื่นๆ คือ

1) รู้จักตอบปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นคนที่หลงเชื่องมงายไร้เหตุผล

2) ได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจ ได้อย่างลึกซึ้งกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู

3) ทำให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถพิเศษของตนเอง

4) ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ มากยิ่งขึ้น

5) ผู้เรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

 

การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะสำคัญๆ ดังนี้

1) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal skill)

2) การแก้ปัญหาและความขัดแย้ง (Conflict resolution)

3) ความสามารถในการถกเถียงเจรจาเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ (Consensus on decision)

4) เทคนิคการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีประสิทธิภาพ (Effective interpersonal Communication techniques)

5) การจัดการและการบริหารเวลา (Time management)

6) เตรียมผู้เรียนเพื่อจะออกไปทำงานร่วมกับผู้อื่น

6.1) ทักษะในแง่ความรู้เกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมจิตใจและควบคุมตนเอง (Discipline knowledge)

6.2) ทักษะเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม (Group-processskill)

7) ช่วยให้ผู้เรียนได้มีความรู้มากขึ้น มีมุมมองหลากหลาย(Multi perspective) อันจะนำไปสู่ความสามารถทางสติปัญญา การรับรู้ ความเข้าใจ การจดจำ และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น

8) เพิ่มความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น อันนำไปสู่ความสามารถในการคิด

วิเคราะห์และทักษะการสื่อสาร (Criticalthinking and Communication skill) (Freeman, 1995)

9) ช่วยสนับสนุนการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม จากการเรียนรู้จากประสบการณ์

(Experiential learning) (Kolb, 1984)

10) การเรียนแบบโครงงานช่วยให้เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Cooperative learning)

ในกลุ่มของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในการเรียน โดยอาศัยกระบวนการ

กลุ่ม(group dynamic)

 

แนวคิดสำคัญ

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดแบบบลูม (Blom) ทั้ง 6 ขั้น

คือ ความรู้ความจำ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้ (Application) การวิเคราะห์

(Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) การประเมินค่า (Evaluation) และยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่

การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงานโดย

ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้

แคทซ์และชาร์ด (Katz and Chard, 1994) กล่าวถึงการสอนแบบโครงงานว่า วิธีการสอนนี้

มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนทั้งชีวิตและจิตใจ (Mind) ซึ่งชีวิตจิตใจในที่นี้หมายรวมถึง ความรู้ ทักษะ

อารมณ์ จริยธรรมและความรู้สึกถึงสุนทรียศาสตร์ และได้เสนอว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบ

โครงงานว่าควรมีเป้าหมายหลัก 5 ประการ คือ

1) เป้าหมายทางสติปัญญาและเป้าหมายทางจิตใจของผู้เรียน (Intellectual Goals and the Life of

the Mind) คือการจัดการเรียนการสอนแบบเตรียมความพร้อม มุ่งให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่าง

หลากหลาย และการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตัว ผู้เรียนควรจะได้เข้าใจประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบ

ตัวอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นเป้าหมายหลักของการเรียนระดับนี้ จึงเป็นการมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ ความเข้าใจโลก

ที่อยู่รอบๆ ตัวเขา และปลูกฝังคุณลักษณะการอยากรู้อยากเรียนให้กับผู้เรียน

2) ความสมดุลของกิจกรรม (Balance of Activities) การสอนแบบโครงงานจะทำให้ผู้เรียน ได้ปฏิบัติ

กิจกรรมที่เหมาะสมทั้งกิจกรรมทางวิชาการ ใช้กิจกรรมเป็นสื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำ

กิจกรรมค้นหาความรู้ เป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่รอบตัว

3) สถานศึกษาคือส่วนหนึ่งของชีวิต (School as Life) การเรียนการสอนในสถานศึกษาต้องเป็นส่วน

หนึ่งในชีวิตของผู้เรียนไม่ใช่แยกออกจากชีวิตประจำวันโดยทั่วไป กิจกรรมในสถานศึกษาจึงควรเป็นกิจกรรมที่

เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตปกติ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและผู้คนรอบๆ ตัวผู้เรียน

4) ศกร.เป็นชุมชนหนึ่งของผู้เรียน (Community Ethos in the Class) ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตัว

การสอนแบบโครงงานเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนได้แสดงออกถึงคุณลักษณะ ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ

ของเขา ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบนี้จึงเกิดการแลกเปลี่ยน การมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ผู้เรียนได้

เรียนรู้ความแตกต่างของตนกับเพื่อนๆ

5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ท้าทายครู (Teaching as a Challenge) ในการจัดกิจกรรมการ

เรียนรู้แบบโครงงาน ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน แต่เป็นผู้คอยกระตุ้น ชี้แนะ และให้ความสะดวกใน

การเรียนรู้ของผู้เรียน โครงงานบางโครงงานครูเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน ครูร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหา ลงมือ

ปฏิบัติไปด้วยกัน ถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน