วัดแก่ง
โรงเรียนวัดแก่งหางแมว
1.ประเภทแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
แหล่งเรียนรู้ทางประว้ติศาสตร์
บุคคล (ผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ คุณธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น)
อื่น ๆ ระบุ
รูปภาพแสดงกิจกรรมการใช้แหล่งเรียนรู้

พิกัดแหล่งเรียนรู้
2. วัตถุประสงค์/องค์ความรู้
2.1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาที่หลากหลายและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะของการใฝ่เรียนใฝ่รู้และสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2.3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง และทัศนคติที่ดีต่อสภาพแวดล้อม เกิดความรักและความภูมิใจในถิ่นฐานของตนเอง
3. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้
3.1 นำผู้เรียนไปทัศนศึกษานอกโรงเรียน
3.2 การจัดการอบรมหรือบรรยายจากพระอาจารย์วิทยากร
3.3 การให้ผู้เรียนได้สำรวจศึกษาประวัติความเป็นมาของโบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่ตั้งในบริเวณวัดแก่ง
4. กิจกรรมหรือวิธีการที่ใช้
4.1 การจัดบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เรียน
4.2 การคิดวิเคราะห์และการตอบคำถามจากการรับฟังการบรรยาย
4.3 การสำรวจศึกษาสิ่งปลูกสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ
5. วิธีการวัดผลและรวบรวมข้อมูล
5.1 จากการสังเกตุนักเรียนตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็นของนักเรียน
5.2 นำเสนอชั้นเรียนในรูปแบบการอภิปราย หรือ การเล่าเรื่อง
5.3 แบบประเมินความพึงพอใจ
6. สาระการเรียนรู้
6.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
6.1.1 วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
6.1.2 วิชาประวัติศาสตร์
7. มาตรฐานการเรียนรู้
7.1 วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 รู้และเข้าใจประวัติความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดหมั่นและปฏิบัติตามหลัก
ธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ
7.2 วิชาประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมายความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญ และ
สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็ฯมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภาคภมิใจและธำรงความเป็นไทย
8. ตัวชี้วัด
8.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
8.1.1 วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 ป.1/1,ป.1/2,ป.2/1,ป.2/2,ป.2/3,ป.3/1,ป.3/2,ป.3/3,ป.4/1,ป.4/2,ป.4/3,ป.5/1,ป.5/2,ป.5/3,ป.6/1,ป.6/2,ป.6/3
มาตรฐาน ส 1.2 ป.1/1,ป.2/1,ป.3/1,ป.4/1,ป.4/2,ป.5/3,ป.6/1
8.1.2 วิชาประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 ป.3/1,ป.4/3,ป.5/1,ป.5/2,ป.5/3,ป.6/2
มาตรฐาน ส 4.2 ป.1/2,ป.2/1,ป.2/2,ป.3/1,ป.4/2,ป.5/1/ป.5/2
มาตรฐาน ส 4.3 ป.1/2,ป.1/3,ป.2/1,ป.6/3,ป.6/4
9. องค์ความรู้
ประวัติความเป็นมาของวัดแก่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี (ปัจจุบันนเปลี่ยนเป็นหมู่ 22) สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย หนังสือรับรองการเป็นสภาพวัดเมื่อปี พ.ศ. 2369 สร้างอุโบสถ์เมื่อปี พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) มีต้นพิกุลทองคู่วัดอายุกว่า 200 ปี ปัจจุบันมีอุโบสถ์เก่าและบ่อน้ำเป็นหลักฐานพร้อมพระบูชาเก่าแก่ ที่สามารถพิสูจน์ได้ตั้งแต่สร้างอุโบสถ์ ตามหนังสือรับรองว่าเป็นวัดโดยสมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ตามหนังสืออธิบดีกรม-ศาสนาที่ ศ.ธ.0403/5105 ลงเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2532 มีพระคุณเจ้าที่ทำหน้าที่ เจ้าอาวาสและขรัววัด ดังนี้
1. ท่านพ่อพลอย ปี พ.ศ.2369
2. พระอาจารย์ชด
3. ท่านขรัวหนุ่ย
4. พระอาจารย์ชุ่ม
5. พระอธิการปาน
6. ท่านขรัวแสง
7. พระอาจารย์สุรินทร์ ทองบาง (ปี พ.ศ. ๒๕๐๑)
8. พระอาจารย์หยด ปุณฺณโก
9. พระอาจารย์หน่าย
10. พระอาจารย์หย่วน
11. พระอาจารย์ถัน โชติโถ
12. พระครูสถิตกันทราภรณ์ (เจ้าอาวาสในปัจจุบัน)

โบราณสถานที่สำคัญของวัดแก่ง มีดังนี้
1. พ.ศ.2446 อุโบสถ (หลังปัจจุบัน) ก่ออิฐถือปูน กว้าง 7.90 เมตร ยาว 11.90 เมตร หลังคาลดหลังเป็น 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผาและกระเบื้องซีเม็นต์ ปรากฏหลักฐานทางเอกสารของหนังสือกระทรวงธรรมการ ที่ 224/6132 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน ร.ศ.122 (พ.ศ.2446) มีความส่วนหนึ่งว่า “ด้วยกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือที่ 176/8859 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน ร.ศ.122 ว่าได้รับบอก พระเทพสงคราม ผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรี ว่า นายมา กำนัน กับราษฎร มีศรัทธาจะสร้างอุโบสถวัดแก่ง ตำบลบ้านแก่ง แขวงเมืองจันทบุรี ขอพระราชทานที่ผูกพัทธสีมา” ประกาศพระราชทานวิสุงคามสีมาสามัญ วันที่ 21 ธันวาคม ร.ศ.122 อุโบสถหลังปัจจุบันมีอายุ 116 ปี

โบราณวัตถุที่สำคัญของวัดแก่ง มีดังนี้
1. พระพุทธรูปโบราณ (เนื้อไม้) ปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง 3 นิ้วครึ้ง x 9 นิ้ว สร้าง พ.ศ.2446
2. พระพุทธรูปโบราณ ปางประทานพระธรรมเทศนา หน้าตัก กว้าง 24 x 46 นิ้ว สร้าง พ.ศ. -
10. ใช้กับระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 - 6
https://www.youtube.com/watch?v=U_Yn_IKxtEI
เอกสารหลักสูตร
วีดีโอการใช้แหล่งเรียนรู้

ข้อมูลสถิติ

การเปิดดูข้อมูล   100 ครั้ง
บทเรียนออนไลน์   มี
จำนวนผู้เข้าใช้บทเรียน   200 คน
คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย   4.50

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
Powered By www.chan1.net