ภาพจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์เก่าวัดเนินสูง
โรงเรียนวัดเนินสูง
1.ประเภทแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
แหล่งเรียนรู้ทางประว้ติศาสตร์
บุคคล (ผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ คุณธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น)
อื่น ๆ ระบุ
รูปภาพแสดงกิจกรรมการใช้แหล่งเรียนรู้

พิกัดแหล่งเรียนรู้
2. วัตถุประสงค์/องค์ความรู้
1. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ภาพจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์เก่า
2. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของภาพจิตรกรรมฝาผนัง
3. เพื่อให้นักเรียนเผยแพร่องค์ความรู้จากการศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนัง
4. เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
3. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองโดยเริ่มจากผนังด้านซ้ายของประตูหน้าเป็นเรื่องราวทศชาติชาดกไล่ทีละพระชาติ โดยมีภาพป่าหิมพานต์แทรกบริเวณผนังด้านหลังพระประธาน ต่อด้วยทศชาติชาดกจนครบทั้งสิบพระชาติ แล้วเป็นพุทธประวัติบริเวณผนังด้านขวาตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพานบริเวณผนังหน้าพระประธาน
4. กิจกรรมหรือวิธีการที่ใช้
1. บรรยายทศชาติชาดกและพุทธประวัติตามกรอบภาพจิตรกรรมฝาผนัง
2. อภิปรายอักขรวิธีสมัยนั้นที่แตกต่างจากอักขรวิธีปัจจุบัน
3. ระดมสมองวิธีการอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
4. จัดตั้งชุมนุมมัคคุเทศก์น้อยเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง
5. วิธีการวัดผลและรวบรวมข้อมูล
1. การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน
2. การสังเกตการตอบคำถาม การตั้งคำถาม และการแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน
3. การสอบถามและการสัมภาษณ์นักเรียน
4. การตรวจใบงานกิจกรรมต่าง ๆ
6. สาระการเรียนรู้
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1.1 วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1.2 วิชาประวัติศาสตร์
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
2.1 วิชาศิลปะ
7. มาตรฐานการเรียนรู้
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1.1 วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 รู้และเข้าใจประวัติความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 วิชาประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามาถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น
มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
วิชาศิลปะ
มาตรฐาน ศ 1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
8. ตัวชี้วัด
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1.1 วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 ป.1/1, ป.1/2, ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3, ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3
มาตรฐาน ส 1.2 ป.1/1, ป.2/1, ป.3/1, ป.4/1, ป.4/2, ป.5/3, ป.6/1
1.2 วิชาประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 ป.3/1, ป.4/3, ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.6/2
มาตรฐาน ส 4.2 ป.1/2, ป.2/1, ป.2/2, ป.3/1, ป.4/2, ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน ส 4.3 ป.1/2, ป.1/3, ป.2/1, ป.6/3, ป.6/4
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
วิชาศิลปะ
มาตรฐาน ศ 1.2 ป.1/1, ป.2/1, ป.3/1, ป.4/1, ป.5/1, ป.5/2, ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3
9. องค์ความรู้
วัดเนินสูง เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2373 ทำพิธีผูกพัทธสีมาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2402 ตั้งอยู่เลขที่ 67 หมู่ที่ 12 บ้านคลองนารายณ์ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 19 ไร่ 3 งาน 13 ตารางวา
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2373 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาคราวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองจันทบุรี พระองค์ได้เสด็จประพาสมาในวันอังคารแรม 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด อัฐศก 1238 ตรงกับวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2419/2420 (2419 นับตามธรรมเนียมเดิมที่ขึ้นปีใหม่ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ส่วน 2420 นับตามธรรมเนียมสากลที่ขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม) และทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับวัดเนินสูงว่า “มีวัดเปนโบสถ์ฝากระดาน หลังคามุงกระเบื้องอยู่ที่ข้างทางวัดหนึ่ง ชาวบ้านว่าวัดเนินสูง” และใน พ.ศ. 2456 ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ ซึ่งมีหลักฐานการบูรณะไว้ด้านหลังพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่า
สมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2458 ได้จ้างขุนกันทะราหะริรัฐเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถหลังเก่าโดยเริ่มลงมือวาดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 รวมใช้เวลาวาดทั้งสิ้น 2 ปี 14 วัน
สมัยรัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2516 ได้มีการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ เพื่อใช้แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 21.75 เมตร โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานพิธียกช่อฟ้าอุโบสถใน พ.ศ. 2517 และในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2523 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงเสด็จมาประกอบพิธีตัดสาแหรกลูกนิมิต ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร ต่อมา พ.ศ. 2556 ได้มีการบูรณะพระอุโบสถหลังเก่าโดยมีชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมกันบริจาคสมทบกับงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีเป็นทุนการบูรณะทั้งสิ้น 3,324,000 บาท
สมัยรัชกาลที่ 10 วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ภาพเขียนของขุนกันทะราหะริรัฐที่ฝาผนังพระอุโบสถหลังเก่ามีอายุครบ 100 ปี
10. ใช้กับระดับชั้น
ป.1 - 6
เอกสารหลักสูตร
https://drive.google.com/file/d/1SZz4irSdsQK_mBduHwHv9PVhEUHFcW2S/view?usp=sharing
วีดีโอการใช้แหล่งเรียนรู้
https://www.youtube.com/watch?v=SG1qKKmdTGg

ข้อมูลสถิติ

การเปิดดูข้อมูล   100 ครั้ง
บทเรียนออนไลน์   มี
จำนวนผู้เข้าใช้บทเรียน   200 คน
คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย   4.50

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
Powered By www.chan1.net